มาตรฐาน 4 C's
มาตรฐานของเพชร 4 C's คืออะไร
เพชรเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างมา มีส่วนประกอบเป็นคาร์บอนบริสุทธิ มีผลึกที่แวววาวกว่าอัญมณีชนิดอื่นๆและมีความแข็งที่สุดในบรรดาแร่ธาตุอื่นๆที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ สมดังชื่อภาษากรีกว่า Adamas แปลว่าเอาชนะไม่ได้หรือทำลายไม่ได้ เพชรพบในแหล่งกำเนิดในที่ต่างๆทั่วโลกและพบหายาก เพชรหายากแค่ไหน ลองคิดดูว่าหากเราขุดหินในปริมาณ 1 ตัน เราอาจพบผลึกเพชรดิบไม่ถึงครึ่งกะรัต การหาเพชรที่บริสุทธิ์ตามมาตรฐาน ทั้ง 4 C's ตามคุณสมบัติของเพชรยิ่งยากกว่า
การประเมินคุณภาพของเพชร
เพชรทุกเม็ดจะมีเอกลักษณ์แตกต่างกันออกไป ตามการก่อกำเนิด ภูมิศาสตร์ แร่ธาตุโดยรอบ ความลึก และแรงดันภายใต้ผิวโลกที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้เพชรทุกเม็ดจะมีเอกลักษณ์ 4 ประการในการจำแนก นำมาใช้ในการจัดระดับคุณภาพของเพชรแต่ละเม็ด เราเรียกคุณสมบัตินี้ว่า 4 C's เป็นมาตรฐานการยอมรับในระดับสากล
องค์ประกอบของเพชรทั้ง 4 คือ
Color สีของเพชร การจัดอันดับสีของเพชรที่เป็นมาตรฐานยอมรับในปัจจุบัน เริ่มจากสี D (ในไทยเรียกเพชรน้ำ 100 เป็นเพชรที่ใสไม่มีสี ) - Z ( เพชรที่มีสีเหลือง หรือสีน้ำตาล ) เพชรที่ใสปราศจากสีเป็นเพชรที่หายากมาก เพชรที่ถูกน้ำมาทำเครื่องประดับส่วนใหญ่จะเป็นเพชรที่ใสเกือบไม่มีสี หรือเหลืองนวล
การจัดระดับสีของเพชรทำได้โดยการเทียบสีของเพชรกับชุดเทียบสีมาตรฐาน โดยใช้สัญลักษณ์ D ถึง Z บอกถึงระดับของสีจากสีใสไม่มีสี จนถึงสีติดเหลืองมากขึ้นทีละน้อย
การเรียงลำดับสีของตลาดเพชรไทยมักให้ค่าเพชรน้ำ 100 เป็นน้ำสูงสุด หากจะเทียบกันก็เทียบได้ดังนี้
น้ำ 100 เท่ากับ อักษร D น้ำ 99 เท่ากับ อักษร E
น้ำ 98 เท่ากับ อักษร F น้ำ 97 เท่ากับ อักษร G
น้ำ 96 เท่ากับ อักษร H น้ำ 95 เท่ากับ อักษร I
การเรืองแสง เพชรบางเม็ดจะมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปการเรืองแสง เมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยรังสีอุลตร้าไวโอเลต การเรืองแสงไม่ใช่ปัจจัยในการบอกถึงระดับสี และความบริสุทธิ์ของเพชร อย่างไรก็ตามความเข้มของการเรืองแสงและสีที่เกิดจากการเรืองแสงของเพชรแต่ละเม็ด จะถูกระบุอยู่ในใบรายงานคุณภาพ
Clarity ความบริสุทธ์ การจัดระดับความบริสุทธ์ของเพชร แบ่งเป็น 11 ระดับ จาก Flawiess ถึง 13 เพชรเกิดขึ้นจากสภาวะที่มีอุณหภูมิ และความกดดันสูงมาก จึงเป็นการยากที่เพชรจะมีความบริสุทธ์สูงไม่มีตำหนีภายนอกหรือภายใน การเกิดตำหนิ หรือมลทินเป็นผลที่เกิดขึ้นระหว่างการกำเนิดเพชร อย่างไรก็ตามลักษณะจำเพราะเหล่านี้ช่วยในการจำแนกเพชรแท้ที่เกิดตามธรรมชาติ จากเพชรสังเคราะห์ และวัสดุเลียนแบบได้ นอกจากนี้ยังบ่งชี้ถึงความแตกต่างของเพชรแต่ละเม็ดซึ่งมีลักษณะเฉพาะ อันเป็นเอกลักษณ์ของเพชรแต่ละเม็ด
Cut การเจียระไน การจัดระดับการเจียระไน เริ่มจาก Excellent ถึง Poor มาตรฐานการจัดระดับการเจียระไนใช้ในเพชรกลมเหลี่ยมเกสร (round brilliant cut) ที่อยู่ในช่วงสี D ถึง Z เท่านั้น
ความงดงามของเพชรที่ผ่านการเจียระไนแล้ว จะขึ้นกับความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างแสงกับเนื้อเพชร การตกกระทบของแสงลงบนพื้นผิวของเพชร ปริมาณของแสงที่ผ่านเข้าไปในเนื้อเพชร การหักเหและสะท้อนกลับเข้าสู่ตา ล้วนมีผลต่อประกายความงามของเพชร
ปัจจัย 3 ประการ เกิดจากผลการเจียระไนเพชร คือ ความสว่างไสว เจิดจ้า (Brightness) ซึ่งเกิดจากแสงขาวทั้งหมดสะท้อนจากผิวหน้าเพชร รวมกับแสงสีขาวที่สะท้อนจากภายในกลับสู่สายตา และประกายของเพชร (Fire) ซึ่งเกิดจากแสงสีขาวกระจายเป็นสีรุ้ง รวมถึงความแวววาว (Scintillation) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเพชร หรือแหล่งกำเนิดแสง หรือผู้ดูมีความเคลื่อนไหว
สัดส่วนการเจียระไนเพชร มีผลโดยตรงต่อการตกกระทบ การหักเห และการสะท้อนกลับของแสง ส่งผลต่อความงสม และรูปลักษณ์โดยรวมของเพชรเม็ดนั้น เพชรที่เจียระไนได้สัดส่วนที่สมมาตร และมีความปราณีตในการเจียระไน เมื่อกระทบกับแสงจะเพิ่มความสว่างไสว เจิดจ้ามีประกาย มีความระยิบระยับ แวววาว งดงาม
Carat Weight น้ำหนัก เพชร 1กระรัต หนักเท่ากับ 200 มิลลิกรัม และแบ่งเป็น 100 points เปรียบได้กับเงิน 1 บาท ซึ่งเท่ากับ 100 สตางค์ เพชร 0.75 กะรัต จึงเท่ากับ 75 points และเพชรครึ่งกะรัต เท่ากับ 50 points
ความงดงาม และความเลอค่าของเพชร 4Cs เป็นเพียงหลักที่ใช้ในการเปรียบเทียบ และประเมิณคุณค่าของเพชรเท่านั้น แต่มิอาจบรรยายถึงความลึกลับ และเสนห์ของเพชร ได้อย่างลึกซึ้งเท่าตัวท่านเอง
Carat Weight เพชรที่มีขนาดใหญ่น้ำหนักต่อเม็ดมาก ราคาจะสูงกว่าเพชรที่มีขนาดเล็กน้ำหนักน้อยเป็นค่าของน้ำหนักเพชรแต่ละเม็ดแต่ละกะรัต จะไม่เท่ากัน
หน่วยวัด : กะรัต 1 กะรัต(Carat) = 100 สตางค์(Point) = 0.20 กรัม
เนื่องจากเพชรดิบที่พบตามธรรมชาตินั้น เดิมมักมีรูปร่างไม่สวยงามยังไม่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้ ต้องนำมาผ่านการเจียระไนแยกชิ้นส่วนที่มีตำหนิบางส่วนออกไปก่อน เพื่อให้ได้เพชรร่วงที่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องประดับได้ เพชรร่วงแต่ละเม็ดที่มีน้ำหนักต่อเม็ดเหลืออยู่นั้น เม็ดที่มีน้ำหนักเหลืออยู่ยิ่งมาก ก็จะยิ่งหายาก และมีราคาค่อนข้างสูงดังนั้น หากคุณจะเลือกซื้อเพชร ควรคำนึงถึงน้ำหนักกะรัตที่มีความพอดี และตรงกับความต้องการที่แท้จริงของคุณซึ่งไม่เพียงทำให้ได้เพชรที่ดีเท่านั้น แต่ยังทำให้ได้เพชรที่เหมาะสมกับงบประมาณที่มีอยู่อีกด้วย น้ำหนักของเพชรจะวัดหน่วยเป็นกะรัต 1 กะรัตแบ่งออกเป็น 100 สตางค์ ดังนั้นเพชรขนาดครึ่งกะรัต จึงมีน้ำหนักเท่ากับ 50 สตางค์ ขนาดน้ำหนักกะรัตของเพชร มีผลเป็นอย่างมากต่อมูลค่าของเพชรแต่ละเม็ดนั้นๆ และสิ่งที่ควรระลึกไว้เสมอก็คือ เมื่อเราเปรียบเทียบเพชรสองเม็ดที่มีขนาดน้ำหนักกะรัตเท่ากัน อาจมีมูลค่าที่แตกต่างกัน เป็นอย่างมากได้ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ 3Cs ที่เหลือ ที่ต้องนำมาใช้ในการพิจารณาเพชรต่อไปนั่นคือ การเจียระไน สี และความสะอาดนั้นเอง