วิธีการอ่านใบเซอร์
วิธีการอ่านใบเซอร์เพชร โดย ธาราดา จิวเวลรี่
ไม่ว่าคุณจะมีประสบการณ์การเลือกซื้อเพชรหรือไม่ก็ตาม การเลือกเพชรสักเม็ดที่ทำให้คุณอุ่นใจว่าได้เพชรตามมาตรฐานสากล คือ การเลือเพชรที่มี ใบเซอร์ หรือ ใบรับรอง จึงเป็นหลักประกันว่าเพชรนั้นได้มาตรฐานแน่นอน เราจะมาดูรายละเอียดต่างๆ ในใบรับรองเพชรว่ามีความสำคัญ และมีปัจจัยต่อการเลือกซื้ออย่างไร
ใบเซอร์ จะบอกรายละเอียดของเพชรที่เราไม่สามารถรู้ เพราะเป็นการวัดที่ออกมาจากห้องเล็บโดยใช้เครื่องมือตรวจสอบเฉพาะทาง ดังนั้นการเลือกใบเซอร์ก็ควรเลือกที่ออกจากห้องแลปที่ได้มาตรฐานสากล ใบเซอร์ไม่ได้บอกแค่ 4C แต่ยังบอกสัดส่วนกับประเภทตำหนิอีกด้วย ใบเซอร์นั้นเปลียบเสมือนลายนิ้วมือ คือ จะบอกประเภทตำหนิ รูปพรรณสันฐาน เพื่อตรวจสอบว่าตรงกับเพชรที่เรามีอยู่หรือไม่
สถาบันที่ออกใบรับรองเพชรมีอยู่หลากหลายสถาบันแต่ที่นิยมในตลาดเมืองไทย และเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกอันดับ 1 คือ GIA หรือ Gem Trade Laboratory Inc. และรองลงมาเป็น HRD และ IGI และสถาบันต่างๆ อีกหลายสถาบันทั้งในและต่างประเทศ
ในการเริ่มต้นอ่านใบเซอร์เรามาเริ่มที่ GIA ก่อน
ใบรับรองเพชรหรือใบเซอร์ของ GIA มีด้วยกัน 3 แบบ คือ
แบบที่ 1. Dossier หมายถึงใบเซอร์แบบใบเล็ก ส่วนมากจะออกให้กับเพชรขนาด 0.30-0.90 Cts. จะไม่มีการบอกตำแหน่งของตำหนิของเพชร
ปกติใบเซอร์ที่เราคุ้นตากันจะเป็นสีฟ้า แต่ก็มีสีอื่นด้วย ตัวอย่าง GIA America รุ่นใหม่ แต่รายละเอียดภายในเหมือนเดิมทุกประการ
แบบที่ 2. Full Diamond Report ส่วนมากก็เริ่มออกตั้งแต่ 0.50 Cts. ขึ้นไปแต่ส่วนมากในขนาด 1 กะรัต ก็จะเป็นใบเซอร์ใบใหญ่ ส่วนมากใบเซอร์นี้จะมีการบอกตำแหน่งและประเภทของตำหนิในเพชรมาให้
การอ่านรายละเอียดใบเซอร์ GIA
เริ่มจาก หมายเลข 1 ตัวอย่างใบเซอร์นี้เป็นของ GIA แบบ Dossier (คือเป็นแบบใบเล็ก จะไม่มีการพล็อตตำแหน่งตำหนิของเพชร ต่างจาก full diamond report ที่จะมีการแสดงตำแหน่งตำหนิของเพชรด้วย ) สำหรับ laser inscription registry นี้จะหมายถึง หมายเลขของใบเซอร์ที่แสดงไว้ที่ขอบเพชร
Shape and cutting style หมายถึงรูปทรง และแบบการเจียรไนของเพชร ตามตัวอย่าง คือ Round Brilliant คือ เพชรทรงกลม เหลี่ยมเกสร สำหรับเพชรทรงอื่นๆ ได้แก่ Square (สี่เหลี่ยม) Oval (ไข่) Pear (หยดน้ำ) Marquise (เม็ดข้าว) เป็นต้น
Measurement หมายถึง ขนาดของเพชร ความกว้างxความยาวxความสูง หรือถ้าสำหรับเพชรทรงกลม เป็น ความกว้าง (เส้นผ่านศูนย์กลาง)สูงสุด x ความกว้าง(เส้นผ่านศูนย์กลาง)ต่ำสุด x ความสูง หน่วยเป็นมิลลิเมตร จากรูป เพชรเม็ดนี้มีขนาด กว้างสูงสุด 4.48 มม กว้างต่ำสุด 4.45 มม และมีความสูง (ความลึก) 2.76 มม สำหรับเพชรกลม ความแตกต่างระหว่าง ความกว้างสูงสุด และต่ำสุด ยิ่งน้อย จะยิ่งกลม และยิ่งดีครับ เช่นอย่างเม็ดนี้ต่างกัน 0.03 มม. ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ เกณฑ์ความกว้างสำหรับเพชรเม็ดเล็กขนาด 30-50 ความแตกต่างไม่ควรเกิน 0.05 มม. ครับ และอาจต่างได้ถึงไม่เกิน 0.10 มม. สำหรับเพชรขนาดใหญ่กว่าครึ่งกะรัต นอกจากนี้ measurement ยังสามารถใช้คำนวณ %ความลึก (Total depth) ได้ด้วย โดยใช้สูตร ความลึก/ความกว้างเฉลี่ย จากรูป เพชรเม็ดนี้มี % ความลึก = 2.76/4.465= 61.8% ความกว้างเฉลี่ยคิดจาก (4.48+4.45)/2
Carat Weight หมายถึง น้ำหนักของเพชร โดย 1 กะรัตมี 100 สตางค์ ตามตัวอย่างเพชรน้ำหนัก 0.33 กะรัต หรือ 33 สตางค์
Color หมายถึง สีของเพชร โดยเริ่มจาก D, E, F,.... 100, 99, 98 สียิ่งสูง เพชรจะยิ่งขาว จะยิ่งมีมูลค่าและราคาสูง
Clarity หมายถึง ความสะอาดเพชร โดยเริ่มจาก IF, VVS1, VVS2, VS1, VS2, SI1-3, I1-3 แนะนำให้เลือกเพชรความสะอาดตั้งแต่ VS2 ขึ้นไป เพราะตำหนิ มีขนาดเล็กมาก ไม่มีผลต่อความสวยงามของเพชร สำหรับความสะอาดระดับต่ำกว่านั้นเช่น SI ตำหนิจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ และบางครั้งจะขัดขวางการเดินทางของแสง
Cut หมายถึง การเจียรไน เป็นการสรุปคุณภาพการเจียรไนโดยรวมของเพชรเม็ดนั้นๆ ควรเลือกเพชรที่มี cut grade เป็น Excellent หรือ Very Good เพราะเพชรที่เจียรไนสวยจะมีความแวววาว ประกาย การเล่นไฟ ความระยิบระยับ ที่สวยงาม หรือสำหรับท่านที่ต้องการประหยัดงบ อาจเลือกเป็น Good ก็ได้ แต่ขอให้หลีกเลี่ยง เกรด Fair, Poor
Clarity Characteristic หมายถึง ลักษณะของตำหนิภายใน และภายนอกเพชร เช่น Crystal (ผลึก) pinpoint (รูเข็ม) cloud (กลุ่มของรูเข็ม คล้ายเมฆ) natural (ร่องรอยการเจริญเติบโตของเพชร ที่ใช้ยืนยันได้ว่าเป็นเพชรแท้)
Polish คุณภาพการขัดเงาที่ผิวเพชร เพชรที่มีการ Polish (ขัดเงา) ที่ดีจะมีความแวววาว สวยงาม สำหรับเพชรที่คุณภาพการขัดเงาไม่ดีนัก บางครั้ง เราจะเห็นเหมือนเป็นลาย (Polish Line) ซึ่งเกิดจากการขัดที่ผิวเพชร ควรเลือกซื้อเพชรที่มีคุณภาพการขัดเงา ที่ Excellent, Very Good หรืออย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า Good
Symmetry คือ ความสมมาตรของเพชร เพชรคุณภาพดีย่อมมีความสมมาตร หลักสังเกตง่ายๆ ให้ลองจินตนาการ พับเพชรแบ่งครึ่ง เพชรที่มีความสมมาตรที่ดี ด้านซ้ายและด้านขวาที่เกิดจากการแบ่งเพชรเป็นสองส่วน จะมีขนาดเหลี่ยมต่างๆใกล้เคียงกัน ควรเลือกเพชรที่มีความสมมาตรระดับ Excellent, Very Good
Fluorescence คือ การเรืองแสงของเพชรภายใต้แสงเหนือม่วง (ultraviolet) สำหรับเพชรเม็ดเล็ก ฟลูออเรสเซนปานกลาง ถึงเข้ม จะทำให้เพชรดูขาวกว่าความเป็นจริง แต่สำหรับเพชรเม็ดใหญ่ ฟลูออเรสเซนจะทำให้เพชรดูฝ้าและหมองครับ ควรเลือกซื้อเพชรที่ ไม่มีฟลูออเรสเซน (None) หรือมีเพียงจางๆ (faint, Slight)
Total depth เปอร์เซ็นต์ความลึก หมายถึง สัดส่วน ความลึกต่อความกว้างเฉลี่ยของเพชร เพชรที่ลึก หรือหนาเกินไปจะทำให้หน้าเพชรมืด หรือที่เรียกว่า nail head ส่วนเพชรที่บางเกินไป บางครั้งจะทำให้เห็นเงาสะท้อนของขอบเพชรที่หน้าเพชร ซึ่งถ้าขอบเพชรเป็นแบบ beard-girdle (ขอบขุ่น) จะทำให้เกิด fish eye เปอร์เซ็นความลึกที่ดีอยู่ระหว่าง 58-62.9%
Table size ขนาดของเหลี่ยมเทเบิ้ล (เหลี่ยมที่ใหญ่ที่สุด เป็นแปดเหลี่ยมอยู่กลางหน้าเพชร) ขนาด table ที่สวยงามอยู่ระหว่าง 52-60%
Crown angle มุมคราวน์ มุมคราวน์ตามเหลี่ยมในอุดมคติ (Ideal cut) อยู่ระหว่าง 33-35.1 องศา
Crown height ความสูงของคราวน์ (ครึ่งบนของเพชรเมื่อมองจากด้านข้าง) เทียบกับความกว้างเฉลี่ยของเพชร ความสูงของคราวน์ตามเหลี่ยมในอุดมคติ (Ideal cut) อยู่ระหว่าง 13.5-16.8%
Pavillion Angle มุมพาวิลเลี่ยน ไม่เคยเห็นการกำหนดมุมพาวิลเลี่ยนที่เหมาะสม แต่โดยมากที่เห็นจะอยู่ระหว่าง 40.5-41.5 องศา
Pavillion Depth ความลึกของพาวิลเลี่ยน (ครึ่งล่างของเพชรเมื่อมองจากด้านข้าง) เทียบกับความกว้างเฉลี่ยของเพชร ความลึกของพาวิลเลี่ยนตามเหลี่ยมในอุดมคติ (Ideal cut) อยู่ระหว่าง 42.5-43.5%
Girdle เพชรที่มีคุณภาพดีมักมีขอบเพชรอยู่ระหว่าง thin-medium-slightly thick (บาง-กลาง-หนาเล็กน้อย )ควรหลีกเลี่ยงเพชรที่มีขอบบางมาก (Very thin) เพราะขอบเพชรจะเปราะ และบิ่นได้ง่าย และควรหลีกเหลี่ยงเพชรที่มีขอบหนา-หนามาก (thick-very thick) เพราะแสงปริมาณมากจะลอดออกทางขอบเพชร ความสวยงามของเพชรจะลดลง
Culet คือ เหลี่ยมที่ส่วนล่างสุดของเพชร (ก้นเพชร) ควรเลือกเพชรที่ไม่มีเหลี่ยม culet (none or pointed) หรือ small และหลีกเลี่ยงเพชรที่มี culet ใหญ่กว่า medium ขึ้นไป เพราะเวลามองเพชรจากด้านหน้าจะเห็นเหลี่ยมนี้ เหมือนมีรูกลมๆ ตรงกลางเพชร
โดยส่วนที่ 12-14 นั้นจะแสดงอยู่ในรูปสัดส่วนเพชรอยู่แล้ว และส่วนนี้ ส่วนมากบริษัทที่จำหน่ายเพชรจะเก็บไว้เป็นประวัติการซื้อขาย แต่หากใบเซอร์ใหญ่นั้นจะมีข้อมูลตรงนี้อยู่ด้านในเรียบร้อยแล้ว